กัมพูชาเริ่มแจงศาลโลกคดีพื้นที่ทับซ้อนพระวิหาร ยันศาลต้องตีความคำตัดสินคดีปราสาทพระวิหารปี05 อ้างช่วย 2 ชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้านทนายทีมเขมรซัดไทยเหยียดหยามเขมร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (15 เม.ย.) เป็นวันแรกที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) ได้ให้คณะตัวแทนดำเนินคดีของไทยและกัมพูชาได้เข้าให้การด้วยวาจาต่อศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กรณีที่กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลโลกตีความเรื่องอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร โดยการให้การดังกล่าวมีขึ้นในเวลา 10.00 -12.00 น. และเวลา 15.00 - 16.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเฮก หรือเวลา 15.00-18.00 และ 20.00-21.30 น.ตามเวลาประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการให้มีการถ่ายทอดสดภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ที่ http://www.phraviharn.org และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891นอกจากนี้ ยังมีสถานีวิทยุสราญรมย์ที่ AM1575 โดยเมื่อเวลา 15.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเฮก หรือเวลา 15.00 น.ตามเวลาประเทศไทย คณะตุลาการของศาลโลก 17 คน ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อรับฟังการให้การทางวาจาของฝ่ายกัมพูชา ทั้งนี้ ภายในห้องพิจารณาดคี มีนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะตัวแทนไทยสู้คดี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล นายวรเดช วีระเวคิน อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ และพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม นั่งแถวหน้า ทั้งนี้ นายปีเตอร์ ทอมกา ประธานศาลฯ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของศาลโลก พร้อมกับขอให้ผู้ที่อยู่ในห้องพิจารณาคดียืนไว้อาลัยให้ผู้พิพากษาของศาลโลกที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ก่อนเริ่มกระบวนการพิจารณาคดี จากนั้น นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา ในฐานะหัวหน้าคณะของฝ่ายกัมพูชา กล่าวให้การว่า กัมพูชาได้พยายามขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งที่ไทยไม่ได้คัดค้าน แต่ไทยกลับมีการรุกราน ทำให้เกิดการใช้อาวุธในพื้นที่ใกล้เคียงของปราสาทฯ ซึ่งเรื่องนี้ได้ปรากฏในสิ่งพิมพ์ของไทยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ศาลฯต้องทราบถึงการกระทำของไทยต่อกัมพูชาที่ทำให้บริเวณรอบปราสาทฯได้รับความเสียหาย แต่ไทยกลับทำเหมือนว่าไม่มีข้อพิพาทระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ เราพยายามนำกลับมาเข้ามาตามวิถีทางทางการทูต แม้ไทยรับคำพิพากษาของศาลฯเมื่อปี 2505 แต่กลับมีปัญหาเรื่องการตีความคำพิพากษา และไทยพยายามลดขอบเขตคำพิพากษา รวมถึงพยายามทำให้ศาลฯมีความไม่แน่ใจในคำพิพากษา กัมพูชาจึงต้องนำมาให้มีการพิสูจน์คำพิพากษา มีการตีความอย่างแท้จริงและเป็นที่สิ้นสุด รวมถึงต้องการให้เรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ตลอดจนความสงบ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะหากไม่มีการตีความ เราจะไม่มีความสามารถในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้น กัมพูชาหวังให้มีความชัดเจนในการคลี่คลายความขัดแย้งนี้ ศาลฯจึงไม่สามารถปฏิเสธได้ นายนัมฮง กล่าวอีกว่า ไทยพยายามหาช่องโหว่ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลฯ โดยพยายามทำให้ผู้สังเกตจากประเทศอินโดนีเซียตามข้อเสนอของอาเซียน ไม่สามารถเข้ามาสังเกตการณ์การถอนกำลังจากบริเวณปราสาทฯได้ นอกจากนี้ ไทยยังต้องการให้กัมพูชาถอนทหารปราสาทและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ทั้งที่ประชาชนชาวกัมพูชาอยู่ในดินแดนที่เป็นอธิปไตยของกัมพูชามาเป็นเวลายาวนาน ทั้งนี้ คำชี้แจงของไทยเป็นการพูดซ้ำซากและแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ รวมถึงพยายามสร้างความสับสนต่อคำพิพากษา โดยที่จริงแล้วไทยไม่รู้ว่าวิธีที่จะต่อสู้ จึงพยายามทำให้การดำเนินการในเรื่องนี้มีความล่าช้า จากนั้น นายฌอง มาร์ค ซอเรล ทนายความชาวฝรั่งเศส ของฝ่ายกัมพูชา กล่าวว่า การตีความคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ของไทยแสดงให้เห็นว่ายังมีความไม่เข้าใจตรงกัน ซึ่งเห็นได้จากคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศไทย ซึ่งฝ่ายกัมพูชายืนยันว่าศาลโลกมีอำนาจในการตีความคำพิพากษาได้ เพราะข้อปฏิบัติที่ต้องทำยังไม่เป็นที่สิ้นสุด และต้องแยกจากคำพิพากษา อีกทั้ง ทั้ง 2 ประเทศได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งถูกแยกไม่ได้ออกจากหมวดปฏิบัติการ นอกจากนี้ ไทยยังได้ใช้น้ำเสียงที่ดูถูกและเสียดสีตามที่ปรากฏในเอกสารชี้แจงของไทย โดยกล่าวหาว่ากัมพูชากลัวอย่างมาก และเปรียบเทียบคำชี้แจงของกัมพูชาเป็นเหมือนนิยายเรื่อง “อลิซในดินแดนมหัศจรรย” และไทยได้พูดซ้ำหลายทีว่าข้อมูลของกัมพูชามีการนำเสนอที่บิดเบือนนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไทยคงไม่รู้ว่าจะตอบมาอย่างไร นอกจากนี้ ไทยต้องการจะบอกว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในไทย แม้ศาลฯได้ตัดสินให้กัมพูชาเป็นเจ้าของแล้ว และศาลฯได้บอกแล้วว่าไม่ต้องการให้มีการตีความ ส่วนการใช้กำลังทหารที่มีอาวุธนั้นก็เกิดขึ้นในเขตแดนของไทยเอง
Home »
Daily News
» กัมพูชาเริ่มแจงศาลโลกคดีพระวิหาร
กัมพูชาเริ่มแจงศาลโลกคดีพระวิหาร
Posted by Unknown
Posted on 19:56
with No comments
0 comments:
Post a Comment